เมื่อโน๊ต อุดม แต้พานิช บุกนิเทศศาสตร์ อุดรธานี

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อธิการบดีปลื้ม นศ.นิเทศฯ คว้ารางวัลข่าวส่งเสริมสิทธิเด็ก ระดับชาติ 2 ปีซ้อน




หนังสือพิมพ์ฝึกหัดอุดรโพสต์ สร้างชื่อคว้าอีก รางวัลข่าวส่งเสริมสิทธิเด็กเป็นสมัยที่ 2 เข้ารับรางวัล เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2553 ณ โรงแรมเซนจูรี่ปาร์ค กรุงเทพฯ

ดร.ณัติเทพ พิทักษานุรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เปิดเผยว่า รู้สึกชื่นชมและยินดีกับนักศึกษา และสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ที่มีผลงานการประกวดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรางวัลนี้เป็นรางวัลที่ภาคภูมิใจของทางสาขาและของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี การเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์จำเป็นต้องมีครุภัณฑ์ที่เพียงพอ ขอชื่นชมทางสาขาวิชานิเทศศาสตร์ที่ใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด สามารถสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ได้ ทางมหาวิทยาลัยจะหางบสนับสนุนทางสาขาต่อไป
ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานสาขานิเทศศาสตร์ กล่าวว่า สาขาวิชานิเทศศาสตร์ส่งผลงานหนังสือพิมพ์ฝึกหัดอุดรโพสต์เข้าร่วมประกวดข่าวและสารคดีเชิงข่าวส่งเสริมสิทธิเด็ก ประจำปี 2553 เป็นปีที่สอง ซึ่งปีนี้ส่งจำนวน 1 ข่าว ได้แก่“ข่าวแว่น อวัยวะชิ้นที่ 33 ของร่างกายผลักดันให้เป็นเช่นนี้” ได้รับรางวัลชมเชย เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ โดยได้รับรางวัลจากนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และทูตพิเศษ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการได้รับรางวัลข่าวส่งเสริมสิทธิเด็กเป็นปีที่สองติดต่อกัน สำหรับนักศึกษาที่เข้ารับรางวัลในครั้งนี้ประกอบด้วย นางสาวรุ่งทิวา ดวงตาผา นางสาวธิดารัตน์ นงภา นางสาว ภัทราภรณ์ รัตนะสิมากูล และนางสาวมัชฌิมา อุตรักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
สำหรับการรับรางวัลครั้งนี้ถือเป็นรางวัลที่สองของหนังสือพิมพ์ฝึกหัดอุดรโพสต์ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นภายในมหาวิทยาลัย ถือเป็นความภาคภูมิใจของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ที่ได้ผลิตหนังสือพิมพ์ฝึกหัดอุดรโพสต์ให้นักศึกษาที่เรียนด้านหนังสือพิมพ์ได้มีเวทีในการฝึกการสื่อข่าวและเขียนข่าว การได้รับรางวัลถึงสองปีซ้อนในครั้งนี้ คาดว่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักศึกษาในรุ่นต่อไปที่จะสร้างสรรค์ผลงานด้านการสื่อข่าวสิทธิเด็ก ให้มีคุณภาพและสามารถคว้ารางวัลได้อีกในโอกาสต่อไป สำหรับผู้สนใจอ่านรายละเอียดของข่าวแว่น อวัยวะชิ้นที่ 33 ของร่างกายผลักดันให้เป็นเช่นนี้สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ www.udru.net.

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นศ.นิเทศศาสตร์ มรภ.อุดรธานีเจ๋ง คว้ารางวัลข่าวสิทธิเด็กสองปีซ้อน



ส่งผลงานหนังสือพิมพ์ฝึกหัดอุดรโพสต์ ข่าว “แว่นอวัยวะชิ้นที่ 33” คว้ารางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศจากสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2553 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ปาร์ค กรุงเทพฯ

ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานสาขานิเทศศาสตร์ เปิดเผยว่า “สาขาวิชานิเทศศาสตร์ส่งผลงานหนังสือพิมพ์ฝึกหัดอุดรโพสต์เข้าร่วมประกวดข่าวและสารคดีเชิงข่าวส่งเสริมสิทธิเด็ก ประจำปี 2553 เป็นปีที่สอง ซึ่งปีนี้ส่งจำนวน 1 ข่าว ได้แก่“ข่าวแว่น อวัยวะชิ้นที่ 33 ของร่างกายผลักดันให้เป็นเช่นนี้” ได้รับรางวัลชมเชย เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ โดยได้รับรางวัลจากนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี และทูตพิเศษ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการได้รับรางวัลข่าวส่งเสริมสิทธิเด็กเป็นปีที่สองติดต่อกัน”
นักศึกษาที่เข้ารับรางวัลในครั้งนี้ประกอบด้วย นางสาวรุ่งทิวา ดวงตาผา นางสาวธิดารัตน์ นงภา นางสาวภัทราภรณ์ รัตนะสิมากูล และนางสาวมัชฌิมา อุตรักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยอาจารย์ผู้ควบคุมในครั้งนี้ได้แก่ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด พร้อมร่วมเสวนาในหัวข้อ “สิทธิเด็กในสื่อ : ภาพสะท้อนปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย” โดยมีวิทยากรประกอบด้วยอาจารย์บรรยงค์ สุวรรณผ่อง คุณรุ่งมณี เมฆโสภณ คุณมนตรี สินทวิชัย ดำเนินรายการโดยคุณรัชนีวรรณ ดวงแก้ว ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์
สำหรับการรับรางวัลครั้งนี้ถือเป็นรางวัลที่สองของหนังสือพิมพ์ฝึกหัดอุดรโพสต์ที่เริ่มก่อตั้งขึ้นภายในมหาวิทยาลัย ถือเป็นความภาคภูมิใจของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ที่ได้ผลิตหนังสือพิมพ์ฝึกหัดอุดรโพสต์ให้นักศึกษาที่เรียนด้านหนังสือพิมพ์ได้มีเวทีในการฝึกการสื่อข่าวและเขียนข่าว การได้รับรางวัลถึงสองปีซ้อนในครั้งนี้ คาดว่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักศึกษาในรุ่นต่อไปที่จะสร้างสรรค์ผลงานด้านการสื่อข่าวสิทธิเด็ก ให้มีคุณภาพและสามารถคว้ารางวัลได้อีกในโอกาสต่อไป สำหรับผู้สนใจอ่านรายละเอียดของข่าวแว่น อวัยวะชิ้นที่ 33 ของร่างกายผลักดันให้เป็นเช่นนี้สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ www.udru.net

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

นักวิชาการสื่อสารมวลชนรวมตัวถกปฏิรูปการเรียนการสอนเพื่อปฏิรูปสื่อ





5 นักวิชาการชี้หลักสูตรวารสารศาสตร์ต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เน้นความอยู่รอด พร้อมหนุนการปฏิรูปสื่อ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2553 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต
นายอนุสรณ์ ศรีแก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า สภาพการเรียนการสอนด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนเริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤตจากจำนวนผู้ที่สนใจเข้าศึกษาวิชาวารสารศาสตร์มีจำนวนน้อยลง ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาวารสารศาสตร์จึงจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ปฏิรูปการเรียนการสอนสื่อสารมวลชนเพื่อปฏิรูปสื่อ” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านวารสารศาสตร์ และนำไปสู่การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในอนาคต ผู้เข้าร่วมการสัมมนาประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ คณาจารย์ด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน และนักศึกษาเข้าร่วมงานกว่า 80 คน
วิทยากรในครั้งนี้ประกอบด้วย ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.อุษา บิ้กกิ้นส์ ผู้อำนวยการหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต คุณเถกิง สมทรัพย์ นักจัดรายการวิทยุ สถานี F.M. 96.5 และคุณสมหมาย ปาริจฉัตต์ ประธานกรรมการบริษัท มติชน จำกัด ดำเนินรายการโดยอาจารย์นิพนธ์ เจริญพจน์
ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กล่าวว่า การเรียนการสอนสามารถที่จะช่วยการปฏิรูปสื่อได้คือต้องมีรายวิชาที่มีการประยุกต์ให้เข้ากับภาวการณ์ในปัจจุบัน และรายวิชาจะต้องทันกับการเปลี่ยนแปลงไปของการหลอมรวมสื่อของสื่อใหม่ด้วย
รศ.ดร.อุษา บิ๊กกิ้นส์ กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนวารสารศาสตร์มีพัฒนาการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2482 เป็นต้นมามีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันนี้ยิ่งต้องปรับตัวตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นนักศึกษาต้องปรับตัว รายวิชาต้องมีการปรับเปลี่ยน หลักสูตรต้องปรับปรุง
คุณสมหมาย ปาริจฉัตต์ กล่าวว่า จำนวนนักศึกษาที่เรียนหนังสือพิมพ์ลดน้อยลงเป็นปัญหาทั้งทางสถาบันการศึกษา และนักวิชาชีพ ดังนั้นนักศึกษาจะต้องปรับตัวให้มีความรู้ด้านเนื้อหาเป็นหลัก ให้มีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นไม่ใช่แต่เก่งแต่การใช้เครื่องมือเพียงอย่างเดียว อาจารย์ต้องกำหนดให้นักศึกษาอ่านหนังสือให้มากขึ้นด้วย
ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กล่าวว่าการปฏิรูปการเรียนการสอนด้านวารสารศาสตร์ของทุกมหาวิทยาลัยมีส่วนคล้ายคลึงกัน คือจำนวนนักศึกษาลดน้อยลง ความตั้งใจ มุ่งมั่นที่จะเข้าสู่วิชาชีพด้านวารสารศาสตร์ลดน้อยลง ทำให้การเรียนการสอนไม่ได้มาจากใจรัก จึงขาดแรงจูงใจที่จะมุ่งมั่น จึงส่งผลต่อคุณภาพของบัณฑิตอีกด้วย ทางออกคือจะต้องเติมเต็มความรู้พื้นฐานให้กับนักศึกษา และสร้างแรงจูงใจมุ่งมั่นให้กับนักศึกษาการที่พยายามผลักดันให้นักศึกษามีผลงานและมีการแข่งขันกันเพื่อให้ได้รางวัลก็เป็นการสร้างแรงจูงใจที่น่าสนใจ.
การจัดสัมมนาเรื่อง การปฏิรูปสื่อการเรียนการสอนสื่อสารมวลชนเพื่อการปฏิรูปสื่อ จัดโดย สาขาวิชาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน (คพส.) สถาบันอิสรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อวันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2553 ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม ชั้น 2 อาคารดิจิทัล มัลติมีเดีย คอมเพล็กซ์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

นักวิชาการสื่อจับมือนักวิชาชีพสื่อสารมวลชน ร่วมถกพัฒนาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคอีสาน



จัดประชุมเครือข่าย “สถาบันการศึกษากับการมีส่วนร่วมพัฒนาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ภาคอีสาน” นักวิชาการ นักวิชาชีพภาคอีสานร่วมประชุมคับคั่ง วันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2553 ณ ห้องประชุมสัตตบรรณ โรงแรมอุบลบุรี รีสอร์ท จังหวัดอุบลราชธานี
คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา เปิดเผยว่า สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดประชุมเครือข่ายนักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อสารมวลชน ครั้งที่ 2/2553 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมพิจารณาประเด็น 4 ประเด็น ประกอบด้วย วิกฤตผู้ที่เข้าศึกษาสาขาวารสารศาสตร์ การปรับกระบวนการเรียนการสอนวารสารศาสตร์ ไปสู่การเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลกระทบจากการพัฒนาเทคโนโลยี ที่มีต่อการพัฒนาหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ปัญหาด้านจริยธรรมวิชาชีพ และกิจกรรมประกวดผลงานสิ่งพิมพ์วารสารศาสตร์ สู่แนวคิดในการปรับตัว และการให้รางวัล
สำหรับวิทยากรนำการประชุมประกอบด้วย ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผศ.เมตตา ดีเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อาจารย์จักษุ ตะกรุดแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม คุณเอกนที วัชรพนมชัย รองประธานเครือข่ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาคอีสาน และคุณสุชัย เจริญมุขยนันท ผู้จัดการสื่อสร้างสุข อุบลราชธานี โดยมีนักวิชาการ และนักวิชาชีพด้านหนังสือพิมพ์เข้าร่วมประชุมกว่า 30 คน
นอกจากนั้นยังมีการประชุมย่อยจัดตั้งเครือข่ายนักวิชาการสื่อสารมวลชนภาคอีสาน และจัดประชุมครั้งที่ 1/2553 ขึ้น ณ โรงแรมอุบลบุรี รีสอร์ท จังหวัดอุบลราชธานี สมาชิกเครือข่ายเป็นนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีผศ.เมตตา ดีเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาดำรงตำแหน่งประธานเครือข่าย และผศ.
ดร.เสกสรร สายสีสด มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นเลขานุการ สำหรับการสื่อสารภายในสมาชิกจะใช้การติดต่อผ่านเว็บไซต์ หรือสื่อใหม่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วย.

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

หนังสั้นนิเทศศาสตร์ "โอ่น้อยออก" ดังไม่เลิก รายการรอบรั้วราชภัฏเชิญร่วมรายการ






นศ.นิเทศศาสตร์ดังอีก ล่าสุดออกอากาศทางช่อง 1 โฮมเคเบิ้ลทีวีในรายการรอบรั้วราชภัฏ วันอังคารที่ 14 ก.ย. 53 พ่วงบุกบ้านิเทศศาสตร์ ออกอากาศวันอังคารที่ 21 ก.ย. 53


ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เปิดเผยว่า รายการรอบรั้วราชภัฏได้ติดต่อทาบทามนักศึกษาทีมงานผลิตหนังสั้น "โอ่น้อยออก" เจ้าของรางวัลกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์อัจฉรา ศักยเศรษฐ์ร่วมเป็นแขกในรายการให้สัมภาษณ์ถึงเบื้องหลังการผลิตหนังสั้น พร้อมกลยุทธ์ที่สามารถคว้ารางวัลระดับดีเด่นมาครองได้สำเร็จ
นอกจากนี้รายการรอบรั้วราชภัฏ ยังเกาะติดสาขาวิชานิเทศศาสตร์ จัดรายการบุกบ้านนิเทศศาสตร์ สัมภาษณ์กิจกรรม และผลงานของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ในปีการศึกษา 2553 อีกด้วย โดยการสัมภาษณ์นักศึกษาที่ได้รับรางวัล และประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ซึ่งจะออกอากาศในวันที่ 21 กันยายน 2553 ทางช่อง 1 โฮมเคเบิ้ลทีวี โดยนักศึกษาสามารถคว้ารางวัลได้ 3 รางวัลประกอบด้วย รางวัลหนังสั้นระดับดีเด่น รางวัลประกวด Mind Map ระดับประเทศ และรางวัล Yong Presenter Aword จากห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พลาซ่า จ.อุดรธานี และได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมงาน ราตรีบัณฑิต คืนสู่เหย้า 20 ปีนิเทศศาสตร์ ซึ่งกำหนดจัดในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 นี้ สำหรับอาจารย์ที่เป็นโปรดิวเซอร์รายการในครั้งนี้ได้แก่อาจารย์สุวัฒนา ดีวงษ์ และอาจารย์สุพรรษา วงค์กัลยา.

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

นิเทศศาสตร์ภาคอีสานรวมตัว จัดงานนิเทศศาสตร์สัมพันธ์ ครั้งที่ 3 ยิ่งใหญ่





สร้างกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ พร้อมประกวด MV นักศึกษานิเทศศาสตร์ 4 มหาวิทยาลัย แห่ร่วมกิจกรรมคับคั่ง นิเทศศาสตร์ มรภ.อุดรธานีคว้าอีก รางวัล MV ชนะเลิศ วันที่ 1 – 2 กันยายน 2553
นายวุฒิพล ฉัตรจรัสกูล คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประธานในงานนิเทศศาสตร์สัมพันธ์ ครั้งที่ 3 เปิดเผยว่า การจัดโครงการนิเทศศาสตร์สัมพันธ์ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมในครั้งนี้ จำนวน 4 แห่งประกอบด้วย สาขาวิชานิเทศศาสตร์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีคณาจารย์เข้าร่วมจำนวน 10 ท่าน และนักศึกษากว่า 200 คน
ผศ.สมสวย รำจวน ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการจัดครั้งที่ 3 ซึ่งครั้งแรกสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีเป็นเจ้าภาพ ครั้งที่ 2 สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นเจ้าภาพ และครั้งที่ 3 สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นเจ้าภาพ ซึ่งครั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมกระบวนการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นกับชาวนิเทศศาสตร์ของทุกมหาวิทยาลัย โดยได้รับเกียรติจาก ครูนักเอี้ยงวิทยากรกระบวนการชื่อดังของภาคอีสาน นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความสนุกสนาน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างให้เกิดความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นต่อกันอีกด้วย
ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการจัดที่มีประโยชน์เข้ากับสถานการณ์ในสังคมที่ต้องการความสมานฉันท์ ซึ่งนักศึกษาจากสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีเข้าร่วมครั้งนี้ จำนวน 40 คน อาจารย์ผู้ควบคุมประกอบด้วยผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด อาจารย์อัจฉรา ศักยเศรษฐ์ และอาจารย์ ชายวรวงศ์เทพ ซึ่งตลอดระยะเวลา 2 วันนี้ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะการทำงานเป็นทีม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี
สำหรับผลการประกวด MV ในงานนิเทศศาสตร์สัมพันธ์ในครั้งนี้มีทีมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เลย อุบลราชธานี และอุดรธานีส่งผลงานเข้าร่วมประกวด จำนวน 4 เรื่อง ผลปรากฎว่านักศึกษานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สามารถคว้ารางวัลถ้วยชนะเิลิศมาครองเป็นผลสำเร็จอีกด้วย.

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นิเทศฯ มรภ.อุดรฯ คว้ารางวัลหนังสั้นดีเด่นระดับภาค

อธิการบดีปลื้ม นักศึกษานิเทศศาสตร์ คว้ารางวัลหนังสั้น 2 รางวัลจากกระทรวงวัฒนธรรม รับรางวัล ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ดร.ณัติเทพ พิทักษานุรัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เปิดเผยว่า การได้รับรางวัลหนังสั้นในครั้งนี้ถือเป็นความสามารถของนักศึกษาและคณาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ที่ร่วมกันพัฒนาผลงานจนได้คุณภาพ และได้รับรางวัล จำนวน 2 รางวัล ขอชื่นชมกับการได้รับรางวัลในครั้งนี้ ขอให้ตั้งใจพัฒนาคุณภาพของงานเพื่อก้าวสู่นักวิชาชีพนิเทศศาสตร์ที่ดีต่อไป การได้รับรางวัลในครั้งนี้สามารถบอกได้ว่าการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์มีคุณภาพ โดยเฉพาะด้านวิชาชีพให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อจะก้าวสู่วิชาชีพสื่อสารมวลชนได้อย่างมีคุณภาพ และมีคุณธรรมด้วย สำหรับมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันในเวทีต่าง ๆ และจะจัดหาครุภัณฑ์ด้านการเรียนการสอนให้มากขึ้น
นายโชคชัย เดชรอด คณบดีคณะวิทยาการจัดการ เปิดเผยว่า การได้รับรางวัลหนังสั้นในครั้งนี้ถือเป็นความสามารถของนักศึกษาและคณาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ที่ร่วมกันพัฒนาผลงานจนได้คุณภาพ และได้รับรางวัล จำนวน 2 รางวัล ขอชื่นชมกับการได้รับรางวัลในครั้งนี้ ขอให้ตั้งใจพัฒนาคุณภาพของงานเพื่อก้าวสู่นักวิชาชีพนิเทศศาสตร์ที่ดีต่อไป การได้รับรางวัลในครั้งนี้สามารถบอกได้ว่าการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์มีคุณภาพ คณะจะสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าแข่งขันในเวทีต่าง ๆ และจะจัดหาครุภัณฑ์ด้านการเรียนการสอนให้มากขึ้น
ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ เปิดเผยว่า การส่งผลงานประกวดในครั้งนี้เป็นภารกิจสำคัญของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาเรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติจริง การเข้าร่วมแข่งขันถือเป็นการพัฒนาฝีมือได้ทางหนึ่ง สำหรับการได้รับรางวัลในครั้งนี้มีนักศึกษานิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 24 คน โดยแบ่งเป็นทีมผลิตหนังสั้นเรื่อง “โอ่น้อยออก” ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ และทีมผลิตหนังสั้นเรื่อง “สิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย” ได้รับรางวัลชมเชย ซึ่งทั้งสองเรื่องมีอาจารย์อัจฉรา ศักยเศรษฐ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยเข้ารับรางวัลเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2553 ณ ห้องประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สำหรับรางวัลนี้ถือเป็นรางวัลที่ 3 ที่ได้รับในปีนี้ การได้รับรางวัลในครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการฉลองครบรอบ 20 ปีของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีอีกด้วย ซึ่งจะจัดงานฉลองครบรอบ 20 ปีในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2553 นี้.

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นิเทศศาสตร์ มรภ.อุดรธานี เจ๋งร่วมจัดราชภัฏวิชาการเข้ม



ถ่ายทอดสดกิจกรรมผ่านวิทยุ โทรทัศน์เคเบิ้ล ผลิตหนังสือพิมพ์รายวันรายงานสดทั่วงาน พร้อมถ่ายภาพสตูดิโอย้อนยุค

ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ เปิดเผยว่า การจัดกิจกรรมวันราชภัฏวิชาการ ปี พ.ศ. 2553 ในครั้งนี้ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ได้จัดกิจกรรมขึ้นในระหว่างวันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2553 ซึ่งกิจกรรมประกอบด้วย การถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียง F.M. 107.7 MHz. ถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์เคเบิ้ลภายในคณะวิทยาการจัดการ การผลิตหนังสือพิมพ์อุดรโพสต์รายวันนำเสนอข่าวตลอดงาน การออกจดหมายข่าวนิเทศสารรายวัน การผลิตวารสารลานลีลาวดี การออกร้านถ่ายภาพสตูดิโอย้อนยุค การจำหน่ายเสื้อที่ระลึก นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแสดงบนเวทีกลางของคณะวิทยาการจัดการ ประกอบด้วยการร้องเพลง การเดินแฟชั่น การแสดงดนตรี และการแสดงของนักศึกษาสร้างบรรยากาศให้กับงานราชภัฏวิชาการในครั้งนี้อีกด้วย การจัดกิจกรรมร่วมในงานราชภัฏวิชาการในครั้งนี้สาขาวิชานิเทศศาสตร์ได้จัดขึ้นเพื่อร่วมฉลองครบรอบ 20 ปี สาขาวิชานิเทศศาสตร์อีกด้วย ซึ่งจะจัดงานคืนสู่เหย้าชาวนิเทศศาสตร์ในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้.

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โรงพิมพ์อมรินทร์ฯ รายการตีสิบ เติมเต็มความรู้นักศึกษานิเทศศาสตร์



สาขาวิชานิเทศศาสตร์ นำนักศึกษากว่า 50 คน อาจารย์ 4 คน ศึกษาดูงานบริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) รายการตีสิบ และเมืองจำลอง พัทยา เสริมความรู้นักศึกษา วันที่ 9 – 10 สิงหาคม 2553
ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เปิดเผยว่า โครงการศึกษาดูงานด้านการสื่อมวลชนสำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 ได้รับความอนุเคราะห์จากโรงพิมพ์อมรินทร์ฯ รายการตีสิบ และเมืองจำลอง จ.ชลบุรี สำหรับวิทยากรจากโรงพิมพ์อัมรินทร์ฯ ได้บรรยายสรุปให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการปฏิบัติงานจริงของงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อด้านวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งคาดว่านักศึกษาจะได้นำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนรู้จากการปฏิบัติของนักวิชาชีพด้านการสื่อสารมวลชน สามารถนำไปปรับใช้ในการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้ว สำหรับโครงการนี้ได้จัดเติมเต็มความรู้ด้านการปฏิบัติงานจริงของสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อด้านวิทยุโทรทัศน์ ให้กับนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ สำหรับนักศึกษาที่เข้าร่วมศึกษาดูงานในครั้งนี้ประกอบด้วย นักศึกษาแขนงวารสารศาสตร์ แขนงประชาสัมพันธ์ และแขนงวิทยุโทรทัศน์ จำนวน 51 คน โดยมีอาจารย์ผู้ควบคุมจำนวน 4 ท่านประกอบด้วย ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ผศ.ดร.วัชพร มานะจิตร อาจารย์สุวัฒนา ดีวงษ์ และอาจารย์สุพรรษา วงศ์กัลยา