เมื่อโน๊ต อุดม แต้พานิช บุกนิเทศศาสตร์ อุดรธานี

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คณะวิทยาการจัดการ มรภ.อุดรธานี ร่วมงานคนสร้างข่าว ครบรอบ 14 ปีสภาการหนังสือพิมพ์




คณบดีนำทีมคณาจารย์ร่วมฟังปาฐกถานายกฯ อภิสิทธ์ บทบาทสื่อกับความมั่นคงของชาติ ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน วันที่ 24 มิถุนายน 2554

นายโชคชัย เดชรอด คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เปิดเผยว่า คณะวิทยาการจัดการนำคณาจารย์ในคณะเข้าร่วมงาน “คนสร้างข่าว จริยธรรมสร้างคน” ในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่อาจารย์ในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ และเกี่ยวข้องได้พบปะกับนักวิชาชีพที่มีชื่อเสียง ได้รับทราบแนวคิด วิธีการการทำงานด้านข่าวต่าง ๆ นอกจากนั้นยังมีโอกาสอันดีได้รับฟังปาฐกถาพิเศษของท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรื่อง บทบาทสื่อกับความมั่นคงของชาติ ซึ่งจะได้นำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนนักศึกษาต่อไป สำหรับอาจารย์ที่เข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ประกอบด้วย ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ผศ.ดร.วัชพร มานะจิต อาจารย์สุพจน์ สกุลแก้ว และอาจารย์อัจฉรา ศักยเศรษฐ์
ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ เปิดเผยว่า การเข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีของอาจารย์ผู้สอนนิเทศศาสตร์ที่ได้ความรู้ ประสบการณ์ แนวคิดใหม่ ๆ ด้านการสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะด้านจริยธรรม วิทยากรที่บรรยายในครั้งนี้มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์อันเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ ซึ่งหัวข้อต่าง ๆ ประกอบด้วย นักข่าวดี ๆ มีจริงหรือ การปาฐกถาพิเศษของศาสตราจารย์นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องค์มนตรี เรื่อง จริยธรรมสื่อมวลชน จับเข่าคุยคนเล่าข่าว สื่อบันเทิง : น้ำผึ้งหรือยาขม และการสนทนากลุ่มเรื่อง เส้นทางข่าวกีฬา : สร้างสรรค์หรือ ...........? ซึ่งสามารถนำความรู้ไปใช้ในการเรียนการสอนด้านนิเทศศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ถือเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ระหว่างวันที่ 24 – 26 มิถุนายน 2554 ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพฯ

โพลชี้ เพื่อไทยยังแรงนำโด่งร้อยละ 65.5 ประชาธิปัตย์ตามติดร้อยละ 21.9



ชาวอุดรธานีต้องการส.ส. ที่แก้ปัญหาได้รวดเร็วมากสุด ควรเร่งแก้ปัญหาปากท้อง นิยมเลือกจากนโยบายพรรคเป็นหลัก เชื่อสื่อที่จูงใจมากที่สุดคือโทรทัศน์
ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เปิดเผยว่า สาขาวิชานิเทศศาสตร์ได้จัดทำอุดรโพล สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสื่อการเลือกตั้งในการหาเสียงของผู้สมัครส.ส.ในจังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 16 – 22 มิถุนายน 2554 จากประชาชนในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 1,295 คน พบว่า ประชาชนชาวอุดรธานีนิยมติดตามข่าวสารการเลือกตั้งจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 71.4 รองลงมาคือ หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 10.5 สื่อออนไลน์ร้อยละ 5.5 วิทยุร้อยละ 4.0 ได้รับข่าวสารจากผู้สมัครส.ส. ร้อยละ 3.6 โปสเตอร์ ร้อยละ 2.4 แผ่นพับร้อยละ 1.2 นิตยสาร และสื่ออื่น ๆ ร้อยละ 1.0 ตามลำดับ
สื่อที่น่าเชื่อถือมากที่สุดของชาวอุดรธานี พบว่า ประชาชนเชื่อถือสื่อโทรทัศน์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 62.8 เชื่อถือผู้สมัครร้อยละ 13.4 หนังสือพิมพ์ร้อยละ 11.1 สื่อออนไลน์ร้อยละ 5.0 วิทยุร้อยละ 3.0 แผ่นพับ ร้อยละ 1.6 สื่ออื่น ๆ ร้อยละ 1.4 โปสเตอร์ ร้อยละ 1.1 และนิตยสาร ร้อยละ 0.6 ตามลำดับ
นอกจากนี้พบว่าสื่อที่สามารถจูงใจให้ชาวอุดรธานีคล้อยตามและเลือกส.ส.ได้แก่สื่อโทรทัศน์ร้อยละ 55.1 รองลงมาคือ ตัวผู้สมัครเอง ร้อยละ 24.2 หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 7.8 สื่อออนไลน์ ร้อยละ 3.8 วิทยุ ร้อยละ 3.7 โปสเตอร์ ร้อยละ 2.2 แผ่นพับ 1.6 สื่ออื่น ๆ ร้อยละ 1.0 และนิตยสาร ร้อยละ 0.6 ตามลำดับ
ด้านการตัดสินใจเลือกผู้สมัครส.ส.ของชาวอุดรธานี พบว่านิยมเลือกจากนโยบายพรรคมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 49.0 รองลงมาคือ ดูจากหัวหน้าพรรค คิดเป็นร้อยละ 19.7 มีประสบการณ์การทำงาน ร้อยละ 11.9 มีความรู้สึกที่ดีต่อพรรค ร้อยละ 8.6 เป็นคนในท้องถิ่นร้อยละ 5.6 และดูจากภูมิหลังผู้สมัคร ร้อยละ 5.2 ตามลำดับ
ในการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ชาวอุดรธานีจะเลือกพรรคเพื่อไทยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65.5 รองลงมาคือพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 21.9 ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 5.6 พรรคภูมิใจไทย 2.9 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 2.2 โนโหวต ร้อยละ 1.0 พรรครักประเทศไทย ร้อยละ 0.9 และพรรครักสันติ ร้อยละ 0.4 ตามลำดับ
ชาวอุดรธานีต้องการให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65.9 รองลงมาคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 22.8 ไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 7.4 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ร้อยละ 2.5 นายชูวิทย์ กมลวิศิษย์ ร้อยละ 0.7 โนโหวต ร้อยละ 0.6 และรตอ.ปุรชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 0.1 ตามลำดับ
ส่วนปัญหาที่ชาวอุดรธานีต้องการให้รัฐบาลใหม่เร่งแก้ไขคือปัญหาเรื่องปากท้องมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.4 รองลงมาคือ ปัญหาคอรัปชั่น ร้อยละ 22.8 ปัญหาความยากจนร้อยละ 15.1 ปัญหาความปรองดอง ร้อยละ 10.9 ปัญหาพืชผลการเกษตรตกต่ำ ร้อยละ 8.6 ปัญหาที่ทำกินร้อยละ 5.3 และปัญหาอื่น ๆ ร้อยละ 1.9 ตามลำดับ
ชาวอุดรธานีต้องการส.ส.ที่มีคุณลักษณะ แก้ไขปัญหาได้รวดเร็วมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.1 รองลงมาคือ เข้าถึงชาวบ้าน ร้อยละ 39.8 หางบประมาณลงในพื้นที่ ร้อยละ 7.0 เป็นกันเองกับชาวบ้าน ร้อยละ 5.6 ทำจังหวัดให้มีชื่อเสียง ร้อยละ 3.2 และอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 2.3 ตามลำดับ
การเก็บรวบรวมครั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงร้อยละ 55.5 เพศชายร้อยละ 44.4 ส่วนใหญ่อายุอยู่ในช่วง 18-25 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.6 รองลงมาคือ 26 – 40 ปี ร้อยละ 25.3 อายุ 46 – 56 ปี คิดเป็นร้อยละ 22.7 และ อายุ 57 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 7.4 ตามลำดับ
-------------------------------------------------------